Tag Archive | ข่าวการศึกษา

ชี้ข้อดีเลื่อนเปิด-ปิดตามอาเซียน ‘มศว’เชื่อเด็กมีสมาธิสอบ-ร.ร.สาธิตพร้อมหนุน

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุณยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้จะหารือแนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียน กับผู้อำนวยการร.ร.สาธิต มศว ประสานมิตร ปทุมวัน และองครักษ์ ว่าจะขยับตามมหาวิทยาลัยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทิศทางของกลุ่มโรงเรียนสาธิตจะเกาะกลุ่มก้าวไปพร้อมกันทั่วประเทศ ส่วนซีกมหาวิทยาลัยถือว่านิ่งแล้ว โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดแล้วว่าในปีการศึกษา 2557 จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. พร้อมทั้งปรับวันเวลาในการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (แกต) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (แพต) เพื่อรองรับไว้แล้ว

อธิการบดี มศว กล่าวต่อว่า การเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนตามปฏิทินอาเซียน มีข้อดีหลายประการ ประการหนึ่งคือ สมัยก่อนเด็กที่สอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยยังเรียนไม่จบ ม.6 ถ้าเด็กต้องเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาในเดือนมิ.ย. จะต้องสอบตั้งแต่เดือนธ.ค. ปรากฏว่าเด็กเรียนได้ 1 เทอม ก็ต้องสอบแล้ว แต่เมื่อทปอ.ขยับระยะเวลาการเปิดภาคเรียน เด็กจึงมีสมาธิกับการเรียนจนจบ ม.6 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่สำคัญเมื่อเด็กเรียนจบ มหาวิทยาลัยยังมีเวลาจัดค่ายอบรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ส่วนกลุ่มนิสิตที่จะต้องฝึกสอนก็สามารถปรับได้หมด

“ทปอ.คิดเรื่องนี้ซับซ้อนกว่านั้น เพราะมีถึง 14 วิชาชีพ ที่จะต้องปรับระยะเวลาด้วย อาทิ แพทย์ ทันตแพทย์ ซึ่งต้องประสานแพทยสภา และสธ. เนื่องจากเมื่อเรียนจบปี 6 วันที่ 1 เม.ย. ต้องลงพื้นที่ทำงานชนบท แต่พอถึงปี’ 57 ต้องปรับไปทำงาน ส.ค.-ก.ย.แทน ไม่อยากให้กังวลเพราะเวลาเคลื่อนหลักใหญ่ ทปอ.คิดรายละเอียดหาทางแก้ไขไว้แล้ว” ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าว

Credit : http://www.khaosod.co.th/default.php

สทศ.ยืนยันข้อสอบแพต2วิทยาศาสตร์ถูกต้อง

188741

6 มี.ค. รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่สทศ.ได้จัดทดสอบวัดความถนัดทั่วไปหรือแกต และความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือแพต  ครั้งที่ 2/2556 ไปเมื่อวันที่  2-5 มี.ค.ที่ผ่านมา และมีนักเรียนโพสต์ข้อความผ่านเวบไซต์ว่าในส่วนของข้อสอบแพต  2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ที่สอบเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมามีข้อสอบ1 ข้อที่มีคำตอบที่ถูกต้อง 2 ข้อ และเรียกร้องให้ สทศ.ออกมาชี้แจง นั้น  ขณะนี้ ตนได้รับรายงานจากการคณะกรรมการออกข้อสอบแล้วว่าจาการไปตรวจสอบความถูกต้องข้อสอบนั้น ยืนยันว่าข้อสอบไม่มีความผิดพลาดและมีคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 ข้อเท่านั้น

รศ.ดร.สัมพันธ์  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับข้อสอบที่นักเรียนสงสัยว่ามีคำเฉลย 2 ข้อนั้น เป็นข้อที่ 30  ในส่วนของชีววิทยา  แต่ตนไม่สามารถบอกได้ว่าคำเฉลยที่ถูกต้องนั้นเป็นข้อไหน และต้องขอให้การดำเนินการไปตามระบบก่อน และเมื่อ สทศ.ประกาศผลสอบแกตและแพตในวันที่ 10 เมษายนนี้ สทศ.จะกำหนดวันให้นักเรียนที่มีข้อสงสัยยื่นขอดูกระดาษคำตอบได้ ตอนนั้นนักเรียนสามารถแจ้งความประสงค์ เพื่อขอดูเฉลยคำตอบ ได้

อย่างไรก็ตามสทศ.ยืนยันว่าดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ ขอให้นักเรียนมั่นใจใน สทศ. ซึ่งหากมีกรณีข้อสอบคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาด แล้วตรวจสอบพบว่าเป็นจริง สทศ.ก็มีแนวทางดำเนินการรองรับและยกประโยชน์ให้นักเรียนอยู่แล้ว ส่วนการจัดสอบแกตและแพตในภาพรวมที่ผ่านมาเรียบร้อยดีและยังไม่มีการรายงานเรื่องการทุจริต

 Credit : http://www.dailynews.co.th/education/188741

ทักษะวิชาการโรงเรียนเอกชน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการภาค ๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ ๓ และ ๙ จัดการแข่งขันทักษะวิชาการโรงเรียนเอกชน

page2

นายกิตติรัตน์  มังคละคีรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขันทักษะวิชาการโรงเรียนเอกชน เขตตรวจราชการที่ ๓ และ ๙ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการภาค ๕ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ ๓ และ ๙ จัดขึ้น เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนการพัฒนาด้านวิชาการของนักเรียน โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น  จำนวน ๑,๗๔๓ คน

DSC_0825-1

ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมผู้จัดงาน เนื่องจากเห็นว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นการพัฒนาการศึกษาของ   นักเรียนและโรงเรียน ให้มีความรู้ด้านวิชาการ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านวิชาการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป

 

Credit : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=31898&Key=news2

 

รับฟังข้อเสนอจากแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

ศึกษาธิการ – นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ประแสง มงคลศิริ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และศาสตราจารย์ ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับและรับฟังความคิดเห็นจากนายปรัชญา นงนุช ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ รวม ๑๕ คน เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุม MOC ชั้น ๒ อาคารราชวัลลภ

DSC_0157

รมว.ศธ. กล่าวภายหลังการหารือในครั้งนี้ว่า การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบนั้น เป็นแนวทางที่รัฐบาลต่างๆ ได้ดำเนินการมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งขณะนี้มีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบไปแล้วจำนวนมาก และยังมีมหาวิทยาลัยที่บอกว่ามีความพร้อมที่จะออกนอกระบบจำนวนหนึ่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)

ในส่วนของผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ให้ข้อมูลมาตลอดว่า ก่อนที่จะออกนอกระบบนั้น ได้มีการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์จากประชาคมในมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด และกระบวนการดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งก็เป็นไปโดยเปิดเผยมายาวนาน เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจ พ.ร.บ.เหล่านี้ว่าผ่านการรับฟังมาพอสมควรแล้ว รัฐบาลก็ต้องนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้วาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัยที่จะออกนอกระบบ ได้บรรจุไว้ในวาระการประชุมสภาฯ แล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ของ มธ.อยู่ในลำดับที่ ๑๗, มก.อยู่ในลำดับที่ ๔, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตลำดับที่ ๓ ดังนั้นการที่จะเลื่อนวาระการประชุมออกไป ก็จำเป็นต้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณา ตนไม่สามารถเลื่อนได้เอง

อย่างไรก็ตามการที่น้องๆ ตัวแทนนิสิตนักศึกษาจาก ๕ มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รามคำแหง สวนสุนันทา รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มาแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ว่า การรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมในมหาวิทยาลัยยังไม่ครอบคลุม หลายคนทราบกระชั้นชิดมาก จึงขอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ทั้ง ๒ ดังกล่าวออกมาทำประชาพิจารณ์ให้กว้างขวางอย่างเต็มที่ก่อน ซึ่ง ศธ.ก็จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่ง รวมทั้งประสานกับประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ด้วย ในส่วนของ มธ.ซึ่งมีวาระพิจารณาในลำดับที่ ๑๗ ก็ยังพอมีเวลา และทราบว่าจะมีการนัดหารือกับนักศึกษาและคณาจารย์ มธ.ในวันที่ ๑๓ มีนาคมนี้ด้วย

ต่อคำถามว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าในการให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบหรือไม่นั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า แนวคิดการออกนอกระบบมีมาอย่างยาวนานหลายรัฐบาลแล้ว ส่วนจะกระทบกับการเพิ่มค่าเล่าเรียนหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่จะพิจารณากำกับดูแลกันเอง เพราะต้องให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีอิสระทางวิชาการ และความเป็นอิสระของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ละคณะก็แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดสอนหลักสูตรหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ แต่อีกมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรภาษาฝรั่งเศส กรณีเช่นนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจึงต้องกำหนดค่าหน่วยกิตต่างๆ เอง เพราะมีรายละเอียดต่างๆ เยอะมาก แต่หากมหาวิทยาลัยไปกำหนดค่าเล่าเรียนแพงโดยไม่มีเหตุผล เราก็ต้องสร้างกลไกอะไรขึ้นมาดูแลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วหลายแห่งมีค่าใช้จ่ายในการเรียนหลายหลักสูตรถูกกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีการแข่งขันกันอยู่

นายปรัชญา นงนุช ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กล่าวถึงข้อเสนอและจุดยืนต่อสถานการณ์การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบใน ๕ ประเด็น คือ

๑) ให้ รมว.ศธ.เสนอเรื่องในการถอนร่าง พ.ร.บ.๒ แห่ง ออกจากวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
๒) ให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัย ๒ แห่งเปิดเผยข้อมูลการออกนอกระบบต่อประชาคมอย่างทั่วถึง
๓) ขอแสดงจุดยืนการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้คณะบุคคลบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัย
๔) ให้ ศธ.สรุปบทเรียน ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร พนักงานมหาวิทยาลัยภายหลังจากการที่ได้มีการนำมหาวิทยาลัยบางแห่งออกนอกระบบในยุค คมช.ปี ๒๕๕๑ การนำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อปี ๒๕๔๑ และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
๕) ขอสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีเสรีภาพ ทางวิชาการ ภายใต้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยขอให้กำหนดว่าการศึกษาเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรี ไว้ในรัฐธรรมนูญ

 

Credit : http://www.moe-news.net/index.php?option=com_content&task=view&id=3017

 

 

รมว.ศธ.ให้โอวาทนักเรียนโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ

DSC_7447ศึกษาธิการ – นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้โอวาทแก่คณะนักเรียนโครงการประกวดโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติระดับประเทศ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ

รมว.ศธ.กล่าวชื่นชมนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการว่า เป็นเด็กที่มีจิตอาสาและมีความสำนึกในการที่จะทำความดี ซึ่งผู้ที่ทำกิจกรรมเช่นนี้ จะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อการทำงานและศึกษาต่อในระดับต่างๆ ในอนาคต และจะมีความได้เปรียบกว่าคนที่เรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว เพราะประสบการณ์ที่จะได้รับเกิดจาการปฏิบัติงานจริง ได้เห็นปัญหา ได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้จริง ซึ่งจะมีส่วนช่วยได้มากกับการทำงานในอนาคต

รมว.ศธ.กล่าวถึงแนวทางการพิจารณาเข้าศึกษาต่อของไทยว่า ควรให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตอาสา และการทำความดีต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรมนอกห้องเรียนด้วย ซึ่งสถาบันการศึกษาในหลายประเทศได้นำกิจกรรมเหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาเข้าศึกษาต่อ โดยจะดูผลการเรียนควบคู่กับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกบางครั้งแม้คะแนนสอบไม่สูง แต่เมื่อมีประวัติด้านการช่วยเหลือสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ในด้านต่างๆ ก็อาจจะมีสิทธิ์เข้าเรียนมากกว่าคนที่มีคะแนนสอบสูงก็ได้

สำหรับโครงการคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติระดับประเทศ ที่ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม ๓-๕ ปี ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่ามีการดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะต้องพัฒนาเพื่อให้มีคะแนนเหล่านี้ในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อ เพราะสุดท้ายแล้วผู้ที่สามารถเรียนได้จริง ทำงานได้จริง และมีประสบการณ์เหล่านี้ จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ดีกว่า

DSC_7427

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติเป็นโครงการที่ดี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ร่วมกันทำความดี แต่ถึงแม้จะไม่มีโอกาสสำคัญใดๆ ทุกคนก็สามารถทำความดีได้ทุกวัน เพราะการทำความดีก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประเทศและมนุษยชาติ ซึ่งทุกคนควรยึดมั่นในการทำความดี และจากประสบการณ์ของตน ขอยืนยันว่าเมื่อทำความดีแล้ว ความดีจะสะท้อนกลับมาที่ตัวเรา ส่วนคำที่บอกว่า ทำความดีแล้วไม่ได้ดี หรือทำความชั่วแล้วได้ดีนั้นไม่เป็นความจริง เพราะในที่สุดแล้วคนที่ทำดีจะได้ดีกว่าอย่างแน่นอน

DSC_7395

โครงการประกวดโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติระดับประเทศ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการ (Integral Learning Activity) ที่พัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวม (Holistic Development) ที่มีคุณธรรมหรือความดีงามเป็นพื้นฐานหรือแก่นหลัก (Moral Based) โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach) ที่เกิดขึ้นมาจากความสนใจความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียนเอง (Learner Centered) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความเสื่อมทรามทางศีลธรรมและส่งเสริมการทำดีมีคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ (Pragmatic & Systematic) ในสถานศึกษาและชุมชนของตนเองหรือชุมชนอื่นที่เกี่ยวข้องโดยมีขั้นตอนในการทำงาน ได้แก่ การรับสมัครโครงงานคุณธรรมจากทั่วประเทศที่มีระยะเวลาดำเนินงานต่อเนื่อง ๓ ปีกว่า ๑,๐๐๐ โครงงาน เพื่อเข้ารับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๙ โล่ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประเมินโครงงานเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อคัดเลือกโครงงานเข้ารับโล่พระราชทาน “ประโยชน์สุขแห่งมหาชน” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

Credit : http://www.moe.go.th/websm/2013/feb/061.html

สพฐ.เลื่อนเปิดเทอม 10 มิ.ย.รับอาเซียน

630

สพฐ.เลื่อนเปิดเทอม 10 มิ.ย.รับอาเซียน  “พงศ์เทพ” ไฟเขียวเริ่มปี 57 “สุรวาท” แย้งขยับแค่ 3 สัปดาห์ไร้ประโยชน์…

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการเลื่อนเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ว่า ขณะนี้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามเห็นชอบให้ สพฐ.เลื่อนการเปิดภาคเรียนจากเดิมวันที่ 16 พ.ค. เป็นวันที่ 10 มิ.ย. โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้เป็นไปตามข้อสรุปจากการเสวนาระดมความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเลื่อนให้เป็นไปตามปฏิทินอาเซียน โดยระบุว่า การเปิดเรียนตามปฏิทินอาเซียนไม่เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตนักเรียน ไม่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนได้เรียนจบชั้น ม. 6 ก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย และนักศึกษาฝึกสอนมีเวลาเตรียมตัวก่อนไปฝึกสอน 10 วัน และจากการสำรวจความคิดเห็น ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผอ.โรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ไม่ขัดข้อง ขั้นตอนต่อไปจะหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งเพื่อดูว่าตารางการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของ สพฐ.นั้นจะติดขัดกับปฏิทินอาเซียนของหน่วยงานอื่นหรือไม่อย่างไร ส่วนการจะออกประกาศกระทรวงฯ เรื่องเลื่อนการเปิดภาคเรียนเป็นหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะประธานคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า การฝึกงานของนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ เป็นไปตามตารางการเปิดภาคเรียนของ สพฐ.อยู่แล้ว เมื่อเลื่อนเป็นวันที่ 10 มิ.ย.ก็ยิ่งไม่มีปัญหา เพราะโรงเรียน สพฐ.จะได้เปิดเรียนพร้อมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ส่งนักศึกษาไปฝึกสอน แต่ส่วนตัวมองว่าการเลื่อนออกไปเพียง 3 สัปดาห์ไม่มีประโยชน์ เพราะการปรับเปลี่ยนอะไรควรให้สอดคล้องทั้งระบบ ที่สำคัญไม่แน่ใจว่าการปรับครั้งนี้สอดรับกับกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างไร.

Credit : http://www.thairath.co.th/content/edu/329129